ข่าวสารเรื่องเกษตร

   

 ปุ๋ยน้ำ คืออะไร?




 


หัวข้อ : ปุ๋ยน้ำ คืออะไร?

ปุ๋ยน้ำ หมายถึง เป็นปุ๋ยน้ำที่สกัดเอา ธาตุอาหารรองและ ธาตุอาหารเสริม เช่น สังกะสี,แมงกานิส,เหล็ก,ทองแดง,โมลิบดินัม,โบรอน,แคลเซียม,แม็กนีเซียม,กำมะถัน ที่มีความจำเป็นต่อพืช ช่วยบำรุงพืชให้แข็งแรง เพิ่มน้ำหนัก ปรับโครงสร้างการทำงานในส่วนต่างๆของพืชให้เป็นปกติ
         ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและยังมีชีวิตอยู่เป็นปริมาณมากพอที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างรวดเร็วในการส่งเสริมให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านธาตุอาหารพืชมากขึ้นรวมทั้งมีกิจกรรมที่สามารถช่วยให้รากพืชได้รับธาตุอาหารมากขึ้นด้วย ซึ่งปุ๋ยชีวภาพที่ใช้กันแพร่หลายในขณะนี้ก็มี ไรโซเบียม สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไมคอร์ไรซ่า และจุลินทรีย์พื้นบ้าน IMO
         ปุ๋ยน้ำหมัก หมายถึง สารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืชหรือสัตว์ เศษพืชหรือสัตว์จะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ 
ธาตุอาหารสำหรับพืช

แคลเซี่ยม
   1. สร้างเซลล์ โดยเป็นส่วนประกอบของแคลเซี่ยม เพคเตท และ แคลเซี่ยมอ๊อกซาเลท 
  2. ทำให้เนื้อเยื่อมีความแข็งแรง 
  3. ควบคุมขบวนการใช้ไนโตรเจน 
  4. ช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปยังผล 
  5. เพิ่มการติดลูก 
  6. ใช้ในการสร้างเมล็ด 
  7. ช่วยให้พืชใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม็กนีเซี่ยม
  1. เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลด์ หรือสีเขียวที่ใช้ในการสร้างน้ำตาล 
  2. ควบคุมขบวนการใช้ฟอสฟอรัส 
  3. กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ 
  4. ควบคุมขบวนการสังเคราะห์แป้ง ไขมัน และโปรตีน 
  5. สร้างสี 
  6. ช่วยให้ผลแก่พร้อมๆกัน

กำมะถัน
  1. เป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน 
  2. กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ 
  3. เป็นองค์ประกอบของไวตามิน และฮอร์โมน 
  4. เป็นโครงสร้างของโปรโตพลาส (ส่วนประกอบของเซลล์) 
  5. เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่น

สังกะสี
  1. ควบคุมการเจริญเติบโต โดยการควบคุมกระบวนการ เมตาโบลิซึม ของฮอร์โมนอ๊อกซิน 
  2. ควบคุมการสร้างเมล็ด 
  3. ควบคุมการสุกของผล 
  4. สังเคราะห์โปรตีน 
  5. ควบคุมความสูงของต้น

แมงกานีส
  1. เปลี่ยนธาตุไนเตรท เป็นกรดอะมิโน หรือโปรตีน 
  2. ควบคุมขบวนการหายใจ 
  3. ควบคุมกระบวนการสร้างโปรตีน 
  4. กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ 
  5. ควบคุมขบวนการสังเคราะห์แสง

เหล็ก
  1. สร้างคลอโรฟิลด์ หรือสีเขียวที่ใช้การสร้างน้ำตาล 
  2. ควบคุมขบวนการหายใจ 
  3. ควบคุมขบวนการแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโต 
  4. ใช้ในการขบวนการสังเคราะห์โปรตีน 
  5. เกี่ยวข้องกับขบวนการตรึงธาตุไนโตรเจน

ทองแดง
  1. กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ 
  2. ควบคุมขบวนการสังเคราะห์แสง 
  3. ช่วยขบวนการสืบพันธุ์ 
  4. ควบคุมการหายใจ 
  5. สร้าง ลิกนิน และคลอโรฟิลด์ หรือ สีเขียวทีใช้ในการสร้างน้ำตาล 
  6. เพิ่มการสะสมน้ำตาล 
  7. สร้างสี 
  8. เพิ่มรสชาติผัก และผลไม้

โมลิบดินั่ม
  1. ใช้ในขบวนการตรึงธาตุไนโตรเจน 
  2. เปลี่ยนธาตุไนเตรท เป็นกรดอะมิโน หรือโปรตีน 
  3. ควบคุมการเจริญเติบโต 
  4. ช่วยให้พืชเจริญเติบได้ในดินที่เป็นกรด โดยทำหน้าที่เสมือนยาลดกรด 
  5. ช่วยการดูดซึมของธาตุอาหารให้สามารถดูดซึมได้มากขึ้น 
  6. ช่วยบริหารไนโตรเจนในต้นพืช โดยทำให้ใบพืชแก่เร็ว 
  7. ช่วยให้พืชทนทานต่อโรคเชื้อรา 
  8. พืชที่มีปริมาณโมลิบดินั่มในต้นน้อยจะมีไนโตรเจนอิสระมาก แต่โปรตีนน้อย ทำให้สัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่สมดุล

โบรอน
  1. ควบคุมขบวนการเคลื่อนย้ายน้ำตาล 
  2. มีส่วนร่วมในการสร้างผนังเซลล์ 
  3. ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน และคาร์โบไฮเดรท 
  4. เพิ่มการติดดอก 
  5. ช่วยให้พืชใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  6. ช่วยให้ผลแก่พร้อม ๆ กัน 
  7. ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพ เก็บได้นาน จัดส่งได้ไกล

ปุ๋ยต่างในท้องตลาดมีมากมายหลากหลายแบบ ทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยแบบเม็ด แบบผง และแบบน้ำ แต่เกษตรกรรู้ไหมว่าการใช้ปุ๋ยมักจะได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ พืชสามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้เพียง 20-30% ซึ่งส่วนที่เหลือก็จะสูญหายไปกับน้ำดินและอากาศ ทำให้เกษตรกรสิ้นเปลืองเงิน และเป็นการเพิ่มต้นทุนไปโดยเปล่าประโยชน์ ดินทำให้ดินเสีย ไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ตของพืช และ
สนับสนุนเนื้อหาโดย   ผลิตภัณฑ์ เพียวกู๊ด เพิ่มพลังให้ปุ๋ย ที่จะช่วยทำให้การดูดซึมปุ๋ยทางดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่สูญเสียไปกับดินน้ำและอากาศ พืชสามาถดูดซึมธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ได้เพิ่มมากขึ้น 70-80% เพียวกู๊ดยังมี กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และจุลินทรีย์ที่สำคัญ สามารถทำให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ 
วิธีการใช้เพียงแค่นำ เพียวกู๊ดไปผสมกับ ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์  ในอัตราส่วน 1:10 แล้วนำไปหว่านตามปกติ โดยจะสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้กว่า 50% เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทุกชนิด

ผู้เข้าชม : 3093