ข่าวสารเรื่องเกษตร

   

 เกษตรอินทรีย์ คืออะไร?




 

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร?


       คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติบนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดินทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรมใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต


ทำไม ?ต้องเกษตรอินทรีย์  
        การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพความไมาสมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่งกระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้นได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามินและพลังชีวิตต่ำเป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลงและเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้นดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโตของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตรและนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืชข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหารและระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5หมื่นล้านบาทเกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปีไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้


เกษตรอินทรีย์คืออะไร?
        - ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
        - ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
        - ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า
        - ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
        - ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
        - ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นอย่างไร?
        - มีรูปร่างดีสมส่วน
        - มีสีสวยเป็นปกติ
        - มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
        - มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
        - มีรสชาติดี
        - ไม่มีสารพิษตกค้าง
        - เก็บรักษาได้ทนทาน
        - ให้สารอาหารและพลังชีวิต


เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร   
        การเกษตรปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจและศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติโดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ทั้งนี้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้นอยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรคใดมีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเมื่อเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน


ความเป็นมาของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 
       ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (Organic foodProduction Act-OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990) และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ.1996)
ตลาดร่วมกลุ่มประเทศในยุโรป (European Unity : EU.) ได้มีการรวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภาตลาดร่วมยุโรป(EEC No. 2092/91) และฉบับแก้ไขข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศอื่นภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ
       ประเทศญี่ปุ่นรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น(Japan Agriculture Standard – JAS) 
       ประเทศไทยได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมพ.ศ. 2543 โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยและผ่าการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of OrganicAgriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรปสมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร (Soil Association UK) เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร องค์กรเครือข่าย (PesticideNetwork Action : PNA) เป็นองค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักรและประเทศเนเธอแลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการเคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย
       มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
       - ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
       - พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
       - ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
       - ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
       - ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
       - ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
       - ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
       - กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
       - ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
       - ต้องได้รับการรับรองมารฐานอย่างเป็นทางการ


ข้อมูลการตลาดเกษตรอินทรีย์
       ตลาดเกษตรอินทรีย์ของโลกในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ600,000 ล้านบาท โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่สหภาพยุโรป 250,000ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 200,000 ล้านบาทและญี่ปุ่น45,000 ล้านบาทโดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปีราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปจะสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25 – 50 อย่างไรก็ตามปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั้งโลกในปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มาก
สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535โดยกรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทในเครือนครหลวงและบริษัทในเครือสยามวิวัฒน์ผลิตข้าวอินทรีย์ในท้องที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย เนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 1,200 – 1,500 ตันส่งไปขายยังต่างประเทศภายใต้การควบคุมขององค์กรตรวจสอบคุณภาพของประเทศอิตาลีมีการผลิตกล้วยหอมอินทรีย์ส่งไปประเทศญี่ปุ่นโดยสหกรณ์การเกษตรท่ายางร่วมกับสหกรณ์ผู้บริโภคโตโต้ประเทศญี่ปุ่น มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 259 รายในเนื้อที่ 1,500ไร่ ผลผลิตของสมาชิกในโครงการประมาณ 2,000 – 2,500 ตัน/ปี  ปี พ.ศ. 2542 – 2546 กรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทส่งออก จำนวน 6บริษัทตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิดเพื่อการส่งออกคือ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน กล้วยไข่ สับปะรด กระเจี๊ยบเขียว และขิงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันมีมูลค่าประมาณปีละ 5 – 6 แสนล้านบาทความต้องการของตลาดส่วนใหญ่เติบโตอยู่ในต่างประเทศเช่น
        ประเทศในสหภาพยุโรปมีมูลค่าประมาณ 250,000 ล้านบาทต่อปี
        สหรัฐอเมริกามูลค่าประมาณ200,000 ล้านบาทต่อปี
        ประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ45,000 ล้านบาทต่อปี
        โดยอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ25.50 ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันมีเพียงร้อยละ1
ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกยังมีอยู่มาก
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาศาสตร์ได้จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทผู้ส่งออกของไทยตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิดเพื่อการส่งออกคือหน่อไม้ฝรั่ง, ข้าวโพดฝักอ่อน, กล้วยไข่,สับปะรด, กระเจี๊ยบเขียวและขิงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการนี้ในปี พ.ศ. 2542 ถึงปีพ.ศ. 2544
        กรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากประเทศไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และมีแผนที่จะนำเอาสินค้าเกษตรอินทรีย์คุณภาพดีจากประเทศไทยออกไปแสดงในงานมหกรรมแสดงสินค้าที่ต่างประเทศจัดขึ้นในหลายประเทศเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย

สนับสนุนเนื้อหาโดย ผลิตภัณฑ์เพียว  สินค้าเกษตรยอดนิยมอันดับ เพียว1 สารไคโตซานบริสุทธิ์แท้อันดับเพียว2  อาหารเสริมพืชสูตรเข้มข้น  เพียวกู๊ด เพิ่มพลังให้กับปุ๋ย

 

 

ผู้เข้าชม : 1576