ความรู้เรื่องเกษตร

   

 ปัญหาราเส้นดำในยางพารา




 

ในช่วงอากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตกแบบนี้เป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรที่ไม่มีใครอยากเจอ เพราะส่งผลกระทบกับผลผลิตที่จะได้ แถมโรคภัยตามมาอีก  

วันนี้ทีมงานขอยกตัวอย่างปัญหาจากเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ที่ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกในช่วงนี้ค่ะ เริ่มแรกคือจำนวนวันกรีดน้อยลง แถมต้นยางก็แสดงอาการเป็นโรค กรีดไปก็ไม่ได้น้ำยาง และท้ายสุดทำให้หน้ายางเน่าเสีย ต้นยางโทรม และโรคที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดของยางพาราคือ "โรคราเส้นดำ" ที่เกิดบริเวณรอยกรีด เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้วจะไม่สามารถกรีดยางต้นนั้นได้ จนกว่าแผลที่หน้ายางจะหายดี...เราไปดู สาเหตุ ลักษณะอาการ และวิธีการป้องกันๆ เลยค่ะ


เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา 

การเข้าทำลายของเชื้อโรค
เชื้อจะเข้าทำลายได้เฉพาะบริเวณเปลือกยางที่มีบาดแผลเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเข้าทำลายทันทีทางรอยกรีดใหม่ที่กรีดไปแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง บนผิวเปลือกยางที่ไม่มีบาดแผลใดๆ เชื้อสาเหตุของโรคนี้จะไม่สามารถเข้าทำลายต้นยางได้ ฉะนั้นการกรีดยางให้ดีและถูกต้องจึงมีความสำคัญมาก

ลักษณะอาการ

อาการระยะแรก : หลังจากที่เชื้อราเข้าทำลายแล้ว จะเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีผิดปกติเป็นรอยช้ำ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นเหนือรอยกรีด
ระยะรุนแรง : เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นบริเวณที่เป็นรอยช้ำนี้จะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ และจะขยายตัวยาวขึ้นไปในแนวดิ่ง คือสูงขึ้นไปส่วนบนเหนือรอยกรีดและลงใต้รอยกรีดอย่างรวดเร็ว ระยะนี้จะสังเกตเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน เนื่องจากส่วนที่ไม่เป็นโรคมีเปลือกงอกใหม่หนาเพิ่มมากขึ้น ทิ้งให้ส่วนที่เป็นโรคเป็นรอยบุ๋มลึกชัดเจน เนื่องจากเยื่อเจริญส่วนนั้นตายหมด เมื่อเฉือนเปลือกออกดูจะพบรอยบุ๋มสีดำนั้นมีลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้บริเวณแผล ซึ่งมักเป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น
ระยะรุนแรงมาก : จะทำให้เปลือกของหน้ายางบริเวณที่เป็นโรค มีอาการปริ มีน้ำยางไหลออกมา ตลอดเวลา และเปลือกบ4ริเวณที่เป็นโรคนี้จะเน่าหลุดออกทั้งหมดในที่สุด
• พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มีการป้องกันรักษาหน้ากรีด โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า 90% หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ
• พืชอาศัยของเชื้อราโรคเส้นดำ เชื้อรา P. palmivora สามารถเข้าทำลายพืชอื่นได้นอกจากยางพารา หลายชนิด เช่น มะละกอ แตงโม ส้ม ทุเรียน พริกไทย โกโก้ มะพร้าว ยาสูบ ส่วนเชื้อรา P. botryose สามารถเข้าทำลายทุเรียน ส้ม และกล้วยไม้ได้

การป้องกันโรค
• ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชร่วมยางพาราหรือพืชแซมยางพารา
• ควรหลีกเลี่ยงการเปิดกรีดต้นยางพาราในช่วงฤดูฝนชุก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง
• ถ้าพบอาการที่หน้ากรีด ต้องเฉือนส่วนที่เป็นโรคออกก่อนแล้วทาด้วยยารักษาโรค ทั้งนี้อาจใช้เป็นสารเคมีกำจัดเชื้อรา หรือใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อราก็ได้


ทีมงานมีคำแนะนำดีๆ จากเกษตรกร จ.จันทบุรี "คุณกิจชัย จันทะเลิศ" ผู้ปลูกยางพาราที่เคยประสบปัญหา "โรคราเส้นดำ" ซึ่งใช้ เพียวผง ในการดูแลสวนยาง 

โดยคุณกิจชัยฉีดพ่นตรงบริเวณหน้ายางที่มีอาการ โรคราเส้นดำที่เกิดบริเวณรอยกรีด และฉีดพ่นทั้งลำต้นและใบของยาง ทุกๆ 7 หรือ 10 วัน เพื่อเพิ่มการบำรุงดูแลสวนยาง สารอินทรีย์ เพียวผง จะช่วยเสริมความสมบูรณ์พืชผลทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี เพราะ เพียวผง เป็นอาหารพืช ที่มีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองครบถ้วน จะช่วยฟื้นฟูหน้ายางที่มีอาการ โรคราเส้นดำที่เกิดบริเวณรอยกรีดก็ลดลงและหายไป หน้ายางก็ฟื้นฟู และกลับมากรีดน้ำยางใหม่ได้ในที่สุด ทั้งยังช่วยบำรุงให้ต้นยางแข็งแรงสมบูรณ์เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรได้อีกด้วย


ไม่ลอง...ไม่รู้ เพียวผง ตัวเดียวจบครบทุกการบำรุง

สนใจปรึกษาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
☎️ โทร. 02-104-99999,085-142-1133
Line : @kasetpure หรือคลิ๊ก http://line.me/ti/p/%40kasetpure

#เพียว1เพียว2 #เพียวผง #เพียวเอ็กซ์ #เพียวอาหารเสริมพืช #สารอินทรีย์กำจัดแมลง #ตัวเดียวจบครบทุกการบำรุงพืช #สินค้าเกษตรยอดนิยมอันดับ1 #ยางพารา

ผู้เข้าชม : 527