ความรู้เรื่องเกษตร

   

 โรคยอดฮิตของข้าวโพด




 

สวัสดีค่ะ...วันนี้แอดมินขอพามาทำความรู้จักกับโรคที่มักเกิดขึ้นกับข้าวโพด แต่จะมีโรคอะไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร? และวิธีการป้องกัน หรือจำกัดอย่างไรนั้นตามมาเลยค่ะ


1. โรคราน้ำค้าง 
เข้าทำลาย ข้าวโพดตั้งแต่งอกจนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ในระยะที่มีฝนตกชุก ลักษณะอาการเป็นทางยาวสีเหลืองแคบๆ ไปตามความยาวของใบหรือ เห็นเป็นทางลายสีเหลือง เขียวอ่อน สลับกันเป็นทางยาว เมื่อนานเข้า รอยสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกิดเป็นอาการใบไหม้ แห้งตายในที่สุด บริเวณผิวใบโดยเฉพาะด้านล่างจะมีเส้นใยสีขาว ของเชื้อรา จับเป็นฝ้าเห็นได้ชัดเจน ในตอนเช้าตรู่ซึ่งมีน้ำค้างจัด ลำต้นแคระแกรน ต้นเตี้ย ใบผอม ข้อสั้น ฝักมักมีขนาดเล็กลง เมล็ดติดน้อยหรือไม่ติดเลย ช่อดอกหรือยอดอาจจะแตกเป็นพุ่ม

2. โรคกาบและกาบใบไหม้ 
เข้าทำลายข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะกล้า โคนต้นมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ลำต้นหักพับ ระยะต้นโต เชื้อรานี้เข้าทำลายได้ทุกส่วนของข้าวโพด ใบ กาบใบ กาบฝัก เปลือกหุ้มฝัก ลักษระแผลบนใบ ลักษณะแผลจะมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขอบสีน้ำตาลและไหม้แห้ง ใต้ใบบริเวณแผลจะเห็นเส้นใย อัดเม็ดกลมๆ กระจายอยู่ทั่วไป


3. โรคลำต้นเน่า 

โรคนี้เข้าทำลายทั้งต้นอ่อน ต้นแก่ และฝัก อาการที่ฝักจะเห็นเส้นใยสีขาวเน่าไปทั้งฝักได้ ที่ลำต้นภายหลังเชื้อเข้าทำลายต้นจะเหี่ยว ดูลักษณะภายนอกลำต้นปล้องล่างๆ จะเห็นเป็นขีดๆ รอบลำต้น ฉีกลำต้นดูเนื้อเยื่อภายในจะเป็นสีชมพู ความชื้น เหมาะสม ส่วนที่ถูกทำลายจะเป็นสีม่วง ขณะต้นเริ่มแสดงอาการเหี่ยวใช้มือโยกลำต้นจะหักบริเวณโคนต้น และต้นจะแห้งตาย
.
การป้องกันและกำจัด

1. หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดในฤดูฝน โดยเฉพาะในแหล่งที่มีการชลประทาน ควรปลูกในระยะที่ฝนขาด
2. หมั่นตรวจไร่ข้าวโพดตั้งแต่เริ่มปลูก หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและเผาทำลายทันที
3. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดจากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์
4. ใช้พันธุ์ต้านทาน 
5. ควรปลูกข้าวโพดบริเวณที่มีการระบายน้ำได้ดีน้ำไม่ท่วมขัง หลีกเลี่ยงการปลูกพืชหนาแน่นและการให้ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง เพิ่มอินทรียวัตถุสูงกว่า 1.5 % เพื่อปรับให้มีการแข่งขันของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อเชื้อโรค
6. ปลูกพืชหมุนเวียนในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด
7. หลังเก็บเกี่ยวควรเผาตอซังเพื่อทำลายส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา
8. กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อลดโอกาสการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรคพืช
9. ใช้ชีวภัณฑ์ในการฉีดพ่น เช่น เชื้อไตรโคเดอร์มาหรือบาซิลลัส ซับทิลิส
.
**แนะนำให้ใช้ เพียวXเอ็กซ์ สารอินทรีย์กำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ที่ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิด และป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ดีอีกด้วย


วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ

พียงนำ เพียวXเอ็กซ์ 1 ซอง ผสมกับน้ำ 100 ลิตร สามารถฉีดพ่นได้ถึง 6 ไร่ ซึ่งราคาถูกมากเมื่อเทียบกับสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงที่เคยใช้ และที่สำคัญ ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม เพราะสกัดจากธรรมชาติ 100% ซึ่งเกษตรกรสามารถผสมกับสารชนิดอื่นได้ทุกชนิด จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงในการฉีด 
.
หากช่วงที่มีการระบาดอย่างหนัก แนะนำฉีดเข้มขึ้นขึ้น หรือฉีดบ่อยขึ้นและติดต่อกัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์ จะช่วยกำจัดไข่ของหนอน สปอร์ของเชื้อราให้หมดไป และป้องกันการกลับมาเมื่อฉีดอย่างสม่ำเสมอ
.

แนะนำเกษตรใช้สารอินทรีย์ เพียวผง คู่กับ เพียวเอ็กซ์ ในการดูแลพืชผลทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี พราะเพียวผงเป็นอาหารพืช ที่มีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองครบถ้วน จะทำให้ได้ต้นพืชที่แข็งแรงสมบูรณ์ และช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นและที่สำคัญ เพียวเอ็กซ์ที่ฉีดไปพร้อมกับเพียวผงนั้น จะทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งโรคและแมลงต่างๆที่จะเข้ามาทำลายแปลงพืชผลทางการเกษตรต่างๆได้อย่างอยู่หมัด

สนใจปรึกษาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
โทร. 02-104-99999,085-142-1133
Line : @kasetpure หรือคลิ๊ก http://line.me/ti/p/%40kasetpure

#เพียว1เพียว2 #เพียวผง #เพียวเอ็กซ์ #เพียวอาหารเสริมพืช #สารอินทรีย์กำจัดแมลง #ตัวเดียวจบครบทุกการบำรุงพืช #สินค้าเกษตรยอดนิยมอันดับ1

ผู้เข้าชม : 6980