ข่าวสารเรื่องเกษตร

   

 การกำจัดปลวก ศัตรูสำคัญในสวนยางพารา




 

การกำจัดปลวก ศัตรูสำคัญในสวนยางพารา             
       
ปลวกมี2 ชนิดใหญ่ๆ ครับ คือปลวกดิน กับปลวกกินไม้ พวกกินไม้นี่แหล่ะตัวปัญหาจะกินไม้แห้งแต่ที่ขึ้นต้นไม้เพราะต้องการไปกินเปลือกนอก (ซึ่งแห้งเหมือนไม้แห้ง)ทำให้ต้นไม้สร้างเปลือกใหม่ขึ้นมาทดแทนแล้วมันก็กินอีก กินไปกินมาต้นไม้เราก็สึกหรอไปเรื่อยๆมีผลร้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพารา

สำหรับปลวกที่กัดกินทำลายไม้สดหรือรากยางพารานั้นคือ ปลวกงาน ปลวกจะเข้าทำลายกัดกินส่วนรากของต้นยางที่มีชีวิตอยู่โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นใต้ผิวดินต่อไปภายในลำต้นจนเป็นโพรงระยะนี้ต้นยางจะแสดงอาการใบเหลือง ต่อมาเมื่อระบบรากถูกทำลายเป็นส่วนมากต้นยางจะตายในที่สุด ส่วนมากจะยืนต้นตายอย่างรวดเร็วการระบาดของปลวกสังเกตได้จากต้นยางที่แสดงอาการใบผิดปกติจะลุกลามออกไปยังต้นข้างเคียงค่อนข้างรวดเร็ว ในระยะเวลาอันสั้นโดยที่เจ้าของสวนไม่สามารถมองเห็นโพรงที่ปลวกทำลายตามส่วนต่าง ๆ ภายนอกได้เลยถ้าไม่ขุดดินบริเวณโคนต้นดู หรือลมพัดต้นยางล้ม

อย่างไรก็ตามการมีปลวกสร้างรังบริเวณโคนต้น ก็ทำความเสียหายแก่ต้นยางได้ซึ่งพบทั้งปลวกที่กินไม้แห้งและต้นยางสด แม้ปลวกบางชนิดจะไม่กินต้นยางสด แต่การสร้างรังบริเวณโคนต้นก็ทำให้ดินเป็นโพรง เมื่อมีลมพัดทำให้ต้นยางโค่นล้มเสียหายได้

การใช้สารเคมีกำจัดนั้น  ได้ผลเพียงในระยะสั้น(2-3 อาทิตย์) เมื่อสารเคมีหมดฤทธิ์ปลวกก็จะเข้าทำลายใหม่ อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลือง เพิ่มต้นทุนให้เกษตรกรอย่างมาก  

มีหลายวิธีคะทั้งแบบ สารเคมีและวิธีธรรมชาติ

กรณีใช้สารเคมี  

     ใช้สารเคมี ได้แก่ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan)20%EC เช่น พอสซ์ อัตรา 40-80 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร หรือ ฟิโปรนิล (fipronil) 5%SC เช่นแอสเซ็นต์ อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรราดรอบๆ โคนต้นที่พบปลวกและต้นข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร โดยขุดดินเป็นร่องแคบๆรอบโคนต้นเพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีซึมขยายออกทางด้านข้างมากเกินไป

กรณีใช้วิธีธรรมชาติ

   วิธีการกำจัดปลวกขึ้นต้นยางพารา แก้ไขด้วยเชื้อราเมธาไรเชี่ยม :อัตราการใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส หรือเมธาไรเซี่ยม 30 กรัม ผสมน้ำ 10-15ลิตร ลาดบริเวณโคนต้นยาง กรณีมีหนอน ให้ฉีดพ่นทรงพุ่มให้ทั่ว

 

    ประโยชน์: บิววาเรีย และ เมธาไรเซี่ยม มีความสามารถเข้าทำลายปลวกและแมลงศัตรูพืชทุกชนิด โดยผ่านเข้าทางผิงหนังของแมลง ด้วยการสร้างหลอดออกมาแทงทะลุผิวหนังของแมลงเข้าไปภายในเชื้อจะสร้างกลุ่มเส้นใยเข้าไปตามท่ออาหารและขยายจำนวนมากขึ้นโดยเส้นใยแตกและหักออกเป็นท่อนสั้นๆเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆในตัวแมลงและเพิ่มจำนวนภายในตัวแมลง ซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อของแมลง และ ปล่อยสารพิษทำลายแมลงด้วยทำให้แมลงป่วย ร่างกายอ่อนแอและตายในที่สุดและติดต่อไปยังแมลงข้างเคียงอย่างรวดเร็ว และทำลายแมลงตัวอื่นๆด้วย ส่วนแมลงไม่สามารถแสดงอาการดื้อยา เหมือนสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป ในขณะที่ พาซิโลมัยซิสจะกำจัดไข่ของแมลงทุกชนิด เช่นไข่ปลวก ไข่หนอนเจาะลำต้น ไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไข่หนอนใยผัก ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย ไข่หนอนกระทู้หอมและไข่ของแมลงทุกชนิดทั้งปากกัดและปากดูด รวมทั้งไข่หอยเชอรี่ในนาข้าว แต่หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซัสไม่เป็นอันตรายต่อ มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด จึงปลอดภัยกับคนฉีดกว่าสารเคมี

หมายเหตุ การกำจัดปลวกมีหลายวิธี
1. วิธีง่ายๆ ใช้สารเคมี ฟูราดาน ซึ่งเป็นสารพิษที่ซึมเข้าไปในเปลือกไม้ทำให้ปลวกไม่กล้ากิน เอาไว้กลอกตามรูปลวกที่โคนต้นแต่ต้องทำทุกปีทำให้สารพิษกระจายไปทั่วสวน ไม่จำเป็นไม่ควรทำครับ
2. วิธีที่ง่ายสุดๆ ใช้วิธีศัตรูธรรมชาติประเภทมด ซึ่งผมสังเกตว่าปลวกทำรังที่ไหนจะมีรังมดต่างๆ (เช่นมดดำ มดคันไฟ ฯลฯ) ทำรังอยู่ใกล้ๆ กันนั้น ถ้ารังปลวกมีรูรั่วมดจะเข้าไปจัดการทันที ก็ดีครับ มดเยอะก็ได้เปรียบ เราก็แค่เอาไม้ไปเขี่ยๆรังปลวกให้มดมาจัดการ 555 ง่ายมากวิธีนี้
3. ใช้จุลินทรีย์เป็นตัวกำจัด เนื่องจากปลวกก็มีโรคภัยไข้เจ็บเหมือนคนจุลินทรีย์ที่เป็นโรคของปลวกเป็นแล้วติดต่อตายยกรังมีชื่อว่า เชื้อราเขียวหรือเมตาไรเซียม(Metharhizium) มีจำหน่ายแล้วครับเช่น สิริ-เมตาไรเซียม,Sun Flower and Doogy, ที่ ม.เกษตร

 

ผู้เข้าชม : 13093