ถาม-ตอบเกี่ยวกับสินค้า

   

 โรคใบจุด แก้ไขได้




 

เชื้อสาเหตุ : รา Alternaria brassicicola (Schw.) Wiltshire

ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุชนิดนี้มักทำให้เกิดโรคกับพืชตระกูลผักกาด ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง และผักกาดหัว อาการของโรค เกิดทุกส่วนและทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่ อาการแรกบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลเล็กๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่ขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เมื่อย้ายไปปลูกในแปลงจะทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ อาการใน ต้นแก่มักพบบนใบและก้าน เกิดเป็นแผลจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ เแผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ

การแพร่ระบาด : สปอร์แพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง สัตว์ มนุษย์ และติดไปกับเครื่องมือ โรคนี้ ระบาดมากในฤดูฝนหรือในระยะที่มีความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น ราสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ใน ลักษณะ seed-borne

การป้องกันกำจัด :

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่ในน้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที

2. หลีกเลี่ยงการปลูกผักกาดหรือกะหล่ำต่างๆ ลงในดินที่เคยปลูกและมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 3-4 ปี

3. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก

4. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบโรค ได้แก่ แมนโคเซ็บ หรือ ไดเทนเอ็ม 45 ในอัตราส่วน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มาเน็บ ซีเน็บ และเฟอร์แบม ในอัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5-7 วัน


ผู้เข้าชม : 669