ถาม-ตอบเกี่ยวกับสินค้า

   

 โรครากเน่าโคนเน่า




 

เชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora) 

สร้างความเสียหายให้กับพืชหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน พริก ปาล์ม ยางพารา มะนาว  ฯลฯ โรครากเน่าโคนเน่า สามารถแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็วในช่วงฤดูฝน โรครากเน่าและโคนเน่ายังเกิดจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ  เช่น

- พันธุ์พืชที่ปลูกอ่อนแอต่อการเกิดโรค 

- บริเวณทรงพุ่มมีความชื้นสูง ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง รกทึบ

- ดินมีน้ำขัง ไม่มีการระบาย เกิดจากสะสมเชื้อโรค

- การใส่สารเคมีไม่ถูกวิธี

ลักษณะอาการโดยทั่วไป

ราก >> จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ช้ำ และเน่า

โคนต้น >> จะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกเยิ้มออกมาจากส่วนเปลือกของต้นที่แตก เมื่อถากเปลือกส่วนที่แสดงอาการ เนื้อไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนมากพบอาการบริเวณโคนต้น ตามซอกกิ่ง หรือง่ามกิ่ง หรือกิ่งที่อยู่ต่ำๆ 

ใบ ดอก ผล >> เกิดอาการเน่าหรือไหม้เป็นวงกลมสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำตรงบริเวณกลางใบ ขอบใบหรือปลายใบ ซีด เหลือง เหี่ยวตาย หากเกิดบนยอดอ่อน ยอดอ่อนนั้นจะเน่าแห้งเป็นสีดำ เชื้อราอาจเข้าทำลายดอกทำให้ดอกเน่าแห้ง และหากเชื้อราเข้าทำลายผลที่โตแล้วโดยเฉพาะผลแก่ในระยะ "เข้าสี" ผลจะเน่าเป็นสีน้ำตาลแล้วลุกลามเป็นแผลเน่าวงกลมหรือเน่าทั้งผล อาจมีเส้นใยและสปอร์สีขาวของเชื้อราไฟทอปธอร่าเจริญอยู่บนแผลดังกล่าว ผลที่เกิดแผลเน่าจะร่วงเป็นจำนวนมาก  เรียกอาการเกิดกับใบ ดอก และผลนี้ว่าโรคใบไหม้ ดอกเน่า และผลเน่า

การดูแลรักษา

-ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ไม่รกทึบ การระบายน้ำต้องไม่ให้น้ำท่วมขัง

- ใช้สารเมตาแลกซิล สารกลุ่มนี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในระบบท่อน้ำเท่านั้น ซึ่งจะเข้าไปจัดการได้เฉพาะสปอร์ที่เคลื่อนที่อยู่ในท่อน้ำ ไม่สามารถซึมเข้าสู่ระบบท่ออาหารจึงไม่สามารถลงไปจัดการกับเชื้อราที่อยู่ส่วนต่ำกว่าบริเวณที่ทาได้

- สารที่ใช้สำหรับฉีดเข้าต้น สารกลุ่มนี้สามารถซึมเข้าไปได้ทั้งระบบท่อน้ำ และท่ออาหาร ทำให้สามารถจัดการสปอร์ของเชื้อราได้มากขึ้น และสามารถซึมลงไปที่ระบบรากได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สารที่ฉีดเข้าไปในต้นนั้นจะไปยับยั้งการงอกของสปอร์ และยับยั้งการพัฒนาของเส้นใยได้ 


ผู้เข้าชม : 1837